ประวัติศาสตร์น่าสนใจ จัดทำโดย ครูพี่แม็ก นายจิรวัฒน์ แก้วจังหาร 59010512093 คณะศึกษาศาสตร์ สาขาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ทำเนียบรัฐบาล

ทำเนียบรัฐบาล
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ทำเนียบรัฐบาล
ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐฐบาล
                 ทำเนียบรัฐบาล เดิมเป็นบ้านพัก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เพื่อพระราชทานแก่ พลเอก พลเรือเอก เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) ผู้เคยดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการมหาดเล็ก และผู้บัญชาการกรมมหรสพ ทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ถวายงานใกล้ชิด โปรดให้เป็นหัวหน้าห้องพระบรรทม นั่งร่วมโต๊ะเสวย ทั้งมื้อกลางวัน และกลางคืน ตลอดรัชกาล และตามเสด็จโดยลำพัง เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พลเอก พลเรือเอก เจ้าพระยารามราฆพ
พลเอกพลเรือเอก เจ้าพระยารามราฆพ
           บ้านพักของพลเอกพลเรือเอก เจ้าพระยารามราฆพ (ม.ล.เฟื้อ พึ่งบุญ) มีชื่อว่า บ้านนรสิงห์   ต่อมาจอมพล ป. พิบูลสงคราม ติดต่อขอซื้อเพื่อทำเป็นสถานที่รับรองแขกต่างประเทศที่มาเยือนในราคา 1,000,000 บาท ต่อมาในปี 2484 มาใช้เป็นทำเนียบรัฐบาล มีการเปลี่ยนชื่อจาก บ้านนรสิงห์ มาเป็น ทำเนียบสามัคคีชัย จากนั้นมาก็ใช้เป็นทำเนียบรัฐบาลจนถึงปัจจุบัน โดยเป็นสถานที่ทำงานของนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมด้วยสำนักงานของหน่วยงานต่างๆสำหรับทำเนียบรัฐบาลเป็นตึกอาคารทรงแบบ"กอธิก"ตอนปลายกรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้วโดยพื้นที่รอบๆ ทำเนียบฯ มีทั้งหมด 27 ไร่ 3 งาน 44 ตารางวา
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ตราราชการ ทำเนียบรัฐบาล
               ในรัฐบาลหลายสมัยเคยมีการปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์รอบสวนพื้นที่ทำเนียบรัฐบาลให้สวยงามแต่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันว่าเป็นการปรับฮวงจุ้ยเสริมบารมีของผู้ที่มาเป็นนายกรัฐมนตรี อาทิ สมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีนายกรัฐมนตรี มีปรับภูมิทัศน์หลายครั้ง เช่น การปลูกดอกแก้ว ดอกไม้ โปรดของอดีตนายกฯ และนำไม้ดอกประจำฤดูมาปลูกหน้าตึกไทยคู่ฟ้า การย้ายศาลพระภูมิที่ตั้งอยู่บริเวณรั้วหน้าทำเนียบฯกว่า 50 ปีออก แล้วย้ายไปไว้ข้างตึกสันติไมตรีหลังนอกแทน ทั้งมีโครงการสร้างห้องใต้ดิน ขุดอุโมงค์
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ย้ายศาลทำเนียบรัฐบาล
พิธีย้ายศาลพระภูมิประจำทำเนียบรัฐบาล
             จากนั้นในสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ มีการปรับเปลี่ยนนำอ่างน้ำพุมาวางไว้หน้าห้องสีม่วงในตึกไทยคู่ฟ้า เอาต้นโมกและโกสนมาตั้งเรียงในตึก ติดหมุดสะท้อนแสงหน้าบันไดทางขึ้นตึก มีการนำรูปปั้นพระสังกัจจายน์และปีเซียะตั้งบนหลังคาตึกไทยคู่ฟ้าตามความเชื่อแบบจีน
                และล่าสุดสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ นายกฯ มีการปรับภูมิทัศน์หลายรอบ อาทิ การถอนบรรดาต้นไม้เก่าแก่ออกไป เช่น ต้นกระถินณรงค์ยักษ์ ต้นลีลาวดี ต้นมะม่วง สมัยจอมพล ป. ต้นข่อย และกอไผ่จีน ใกล้ห้องทำงานผู้สื่อข่าวทำเนียบฯ และมีการนำต้นไม้กลับมาปลูกเพิ่มเติมอีกจำนวนมาก และมีการปรับเปลี่ยนทางเข้านายกฯ จากเข้าข้างหน้าเป็นเข้าข้างๆแทน มีการนำเสาธงชาติต้นสีทองใหม่เอี่ยม 3 ต้น มาตั้งไว้ประตูทางเข้า-ออก มีการนำต้นโกสน 6 ต้น มาตั้งคั่นระหว่างปืนใหญ่ และสุดท้ายปรับเปลี่ยนแบบยกสวนนงนุชไว้ที่ทำเนียบรัฐบาล
ตึกไทยคู่ฟ้า
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล
              ชื่อไทยคู่ฟ้านี้ ตั้งขึ้นใหม่ในสมัยที่ จอมพล ป.เป็นนายกรัฐมนตรี เดิมชื่อ ตึกไกรสร ตั้งมาจากพระนามเดิมของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไกรสร กรมหลวงรักษ์รณเรศ ต้นราชสกุล พึ่งบุญ ณ อยุธยา เป็นอาคารสูงสองชั้น สถาปัตยกรรมเป็นแบบฟื้นฟูกอทิกแบบเวเนเชียน (Neo Venetain Gothic) ที่มีศิลปะของไบเซนไทน์ผสม ผนังนกเจาะช่องโค้งปลายแหลมทรงสูง ประดับลวดลายปูนปั้น บางส่วนเขียนสีแบบปูนแห้ง (Fresco Secco) มีบันไดขึ้นด้านหน้า สู่ห้องโถงกลาง โดยบนระเบียงด้านหน้าหลังคา ชั้นดาดฟ้าตึก ซึ่งเป็นจุดเด่น หากมองจากหน้าตึก เป็นแท่นประดิษฐานรูปปั้นพระพรหม 4 พระพักตร์ 4 พระกร หน้าตักกว้าง 24 นิ้ว มีกำแพงคลาสสิกบังฐานด้านหน้า อัญเชิญขึ้นประดิษฐาน เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2507
ตึกนารีสโมสร 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตึกนารีสโมสร
ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล
                ชื่อนารีสโมสรนี้ ตั้งขึ้นใหม่ในสมัยที่ จอมพล ป.เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจาก ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรม เดิมชื่อ ตึกพระขรรค์ มีที่มาจาก เจ้าพระยารามราฆพ เป็นมหาดเล็กผู้เชิญพระแสงขรรค์ชัยศรี หนึ่งในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ ปัจจุบันเป็นที่ทำการสำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และศูนย์แถลงข่าวรัฐบาลตึกสันติไมตรี เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมสองหลังคู่กัน ล้อมรอบสนามหญ้า และสระน้ำพุ ตรงกลางอาคารเปิดโล่ง มีระเบียงรอบ สามารถเดินถึงกันได้ โดยมีรูปแบบสถาปัตยกรรมและการตกแต่ง ทั้งภายนอกภายในอาคาร เช่นเดียวกับตึกไทยคู่ฟ้า
ตึกสันติไมตรี
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตึกสันติไมตรี
ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
          เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมสองหลังคู่กัน ล้อมรอบสนามหญ้า และสระน้ำพุ ตรงกลางอาคารเปิดโล่ง มีระเบียงรอบ สามารถเดินถึงกันได้ โดยมีรูปแบบสถาปัตยกรรมและการตกแต่ง ทั้งภายนอกภายในอาคาร เช่นเดียวกับตึกไทยคู่ฟ้า
ตึกสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีหลังเก่า
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตึกสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีหลังเก่า
ตึกสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีหลังเก่า ทำเนียบรัฐบาล
               เดิมเป็นที่ตั้งของ บ้านพักเจ้าพระยารามราฆพ ที่ทำการ และบ้านพักนายราชจำนงค์ ผู้ดูแลผลประโยชน์บ้านนรสิงห์ เป็นเรือนไม้สองชั้น ซึ่งมีอยู่จนถึงปี พ.ศ. 2484 ต่อมาในปี พ.ศ. 2493 รัฐบาลได้สร้างตึกสองชั้น หลังคามุงกระเบื้องแบบสากลนิยมขึ้น เพื่อเป็นที่ทำการสำนักนายกรัฐมนตรี ต่อมาเคยเป็น ที่ทำการทบวงคณะรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง และกรมตรวจราชการแผ่นดิน ปัจจุบันเป็นอาคารที่ทำการ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
รังนกกระจอก
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รังนกกระจอก ทำเนียบ
รังนกกระจอก ทำเนียบรัฐบาล
สถานที่ทำงานของสื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาล ปัจจุบันมี 3 แห่ง คือ
รังนกกระจอกหลังที่ 1 (ชื่อเรียก: รังฯ เก่า) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของตึกไทยคู่ฟ้า เป็นตึกทรงแปดเหลี่ยม หลังคามุงกระเบื้อง เป็นสถานที่ทำงานของผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์ฟรีทีวี และสถานีวิทยุ
รังนกกระจอกหลังที่ 2 (ชื่อเรียก: รังฯ ใหม่) ตั้งอยู่ในพื้นที่ติดกับทางเข้าประตู 1 ภายในรั้วทำเนียบรัฐบาล และโรงเก็บรถประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรี เป็นตึกทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคามุงกระเบื้อง ต่อเนื่องกับรังฯ สาม เป็นสถานที่ทำงานของผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ ผู้สื่อข่าวอาวุโส และที่พักผ่อนของช่างภาพนิ่ง กับช่างภาพโทรทัศน์
รังนกกระจอกหลังที่ 3 (ชื่อเรียก: รังฯ สาม) ตั้งอยู่ถัดจากรังฯ ใหม่ ต่อเนื่องกับโรงเก็บรถ เป็นสถานที่ทำงานของผู้สื่อข่าวหน้าใหม่ ผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม รวมถึงผู้สื่อข่าวออนไลน์และ นักข่าวดิจิทัล
เรื่องลี้ลับภายในทำเนียบรัฐบาล 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เรื่องลี้ลับภายในทำเนียบรัฐบาล
ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล
             มีเรื่องเล่ากันว่า ตึกนารีสโมสร ในช่วงแรกๆ จอมพล ป.พิบูลสงคราม เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีของประเทศ ได้เคยใช้ห้องหนึ่งภายในตึกเป็นห้องนอนด้วย เนื่องจากท่านต้องทำงานจนมืดค่ำ แต่ไม่เท่านั้น ข้าราชการบางคนที่ทำงานอยู่ภายในทำเนียบที่ต้องอยู่เวรดึก ก็ได้พบเห็นสิ่งลี้ลับ อาทิ เห็นเงาที่คาดว่าเป็นผู้ชายแต่งกาย นุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อคอปิด แขนยาว ซึ่งเป็นรูปแบบการแต่งกายของขุนนางในสมัยรัชการที่ 6 บ้างก็ว่าช่วงเวลาตีหนึ่งกว่าๆเคยเห็นถึงขนาดร่างเด็กชายไว้ผมจุก นุ่งจงกระเบน กวักมือเรียกให้มาเล่นด้วยกัน ทำเอาขนลุกซู่ ที่รองลงมาก็เป็นเพียงการได้ยิน เสียงคนเดิน เสียงปิดประตู ก็อกแก็กต่างๆ

ประวัติทำเนียบขาวของสหรัฐ

ทำเนียบขาว The White House
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประวัติทำเนียบขาว
ภาพทำเนีบยขาว
                    ทำเนียบขาว หรือ ไวท์เฮาส์ (อังกฤษ: White House) เป็นบ้านอย่างเป็นทางการและสถานที่ทำงานของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา สร้างขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1792 ถึง ค.ศ. 1800 ด้วยหินทรายและสีขาวในสไตล์จอร์เจียนยุคหลัง และกลายเป็นที่อยู่อาศัยของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาทุกคนนับตั้งแต่ประธานาธิบดีจอห์น แอดัมส์
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ทำเนียบขาว
ตราสัญลักษญ์ของทำเนียบขาว

ประวัติศาสตร์และการต่อเติม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประวัติทำเนียบขาว
ภาพวาด ทำเนียบขาวถูกเผา โดยอังกฤษ
                 เมื่อประธานาธิบดีทอมัส เจฟเฟอร์สัน ได้ย้ายมายังบ้านหลังนี้ในปี 1801 เขากับสถาปนิก เบนจามิน เฮนรี่ แลทโรบ (Benjamin Henry Latrobe) ได้ขยายพื้นที่อาคารออกไป โดยการสร้าง แนวเสาระเบียงสองด้านอันมีความหมายถึงการปกปิดความมั่นคงและการเก็บรักษา
                 ในปี 1814 ระหว่างช่วงสงครามแห่งปี 1812 คฤหาสน์หลังนี้ถูกกลุ่มทหารชาวอังกฤษเผา ทำให้กำแพงภายในและภายนอกไหม้เกรียมอย่างมาก หลังจากนั้นจึงได้มีการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่เกือบทันที ประธานาธิบดีเจมส์ มอนโรได้ย้ายเข้ามาสู่บ้านที่บูรณะขึ้นใหม่นี้ในเดือนตุลาคม ปี 1817 การก่อสร้างได้ดำเนินการต่อและได้เพิ่มเติมระเบียงทางทิศใต้ (South Portico) ในปี 1824 และทางทิศเหนือ 
(North Portico)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ทำเนียบขาว
ภาพถ่าย ทำเนียบขาวในอดีต
                 ในปี 1829 เนื่องจากว่ามีคนจำนวนมากในตัวคฤหาสน์ ประธานาธิบดีทีโอดอร์ รูสเวลต์จึงได้ย้ายห้องทำงานเกือบทั้งหมดไปยังปีกตะวันตกในปี 1901 จากนั้น 8 ปีต่อมา ประธานาธิบดีวิลเลียม เอช. ทัฟต์ จึงได้ขยายส่วนที่เป็นปีกตะวันตก และได้สร้างห้องทำงานรูปไข่ห้องแรกขึ้น ห้องใต้หลังคาชั้น 3 เปลี่ยนเป็นที่ที่สามารถอยู่อาศัยได้ในปี 1927 หลังจากได้เพิ่มหลังคาที่ทันสมัยและหน้าต่างที่รับแสง มีการปรับปรุงปีกตะวันออกครั้งใหม่เพื่อใช้เป็นห้องรับรองและสำหรับงานสังคมต่างๆ ทั้งสองปีกนั้นจะเชื่อมเข้าหากันโดยแนวระเบียงเจฟเฟอร์สัน ปีกตะวันออกได้เปลี่ยนแปลงเสร็จเรียบร้อยในปี 1946 และได้มีการสร้างพื้นที่ห้องทำงานเพิ่มอีกด้วย
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ทำเนียบขาวยังเป็นการแสดงทางอำนาจเชิงสัญลักษณ์ของประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา และโลกประชาธิปไตย
                 ต่อมา ในปี 1948 คานรับน้ำหนักที่ทำด้วยไม้ของกำแพงภายในและภายนอกบ้านนั้นดูเหมือนจะรับน้ำหนักไม่ไหว ห้องที่อยู่ภายในจึงได้ถูกรื้อออกโดยสมบูรณ์ เป็นผลให้ภายในบ้านนั้นมีเหล็กกล้าเป็นโครงสร้างหลัก และได้ต่อเติมบ้าน บูรณะห้องต่างๆในบ้านขึ้นมาใหม่
ทุกวันนี้ ได้มีการรวมไปที่พักอาศัย และปีกตะวันตก-ตะวันออกเข้าด้วยกันเรียกว่า ศูนย์รวมทำเนียบขาว (The White House Complex) ทำเนียบขาวนั้นมีด้วยกัน 6 ชั้นได้แก่ ชั้นหนึ่ง ชั้นลอย ชั้นสอง ชั้นสาม และชั้นใต้ดินอีก 2 ชั้น ตั้งอยู่เลขที่ 1600 ถนนเพนซิลเวเนีย NW ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ในฐานะที่เป็นที่ทำงานสำคัญของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ชื่อของ “ทำเนียบขาว” จึงได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของการปกครองด้วยระบบประธานาธิบดี ซึ่งนับเป็นทรัพย์สินของอุทยานแห่งชาติและเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานประธานาธิบดี
นอกจากนี้ ภาพของทำเนียบขาวยังถูกนำไปใช้ในด้านหลังของธนบัตรใบละ 20 ดอลลาร์สหรัฐ อีกด้วย
มุมมองด้านบนของทำเนียบขาว สังเกตเห็นตัวบ้านและอุทยานประธานาธิบดี
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ทำเนียบขาวเป็นสถานที่ที่มีระบบรักษาความปลอดภัยชั้นยอด
                  ทำเนียบขาวมีพื้นที่ใช้สอยรวม 55,000 ตารางฟุต (5,100 ตร.ม.) มีห้องทั้งหมด 132 ห้อง และสระว่ายน้ำ 1 สระ ทำเนียบขาวเป็นอาคารหลังแรกในวอชิงตัน ดี.ซี. ที่ทำทางลาดสำหรับรถเข็น ซึ่งปรับปรุงในสมัยประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. รูสเวลต์ที่นั่งรถเข็นเนื่องจากอาการเจ็บป่วย
ปีกตะวันตก (The West Wing)
เพื่อเป็นการตอบสนองต่อจำนวนทีมงานของประธานาธิบดีที่เพิ่มมากขึ้น จึงมีการสร้างอาคารเพิ่มอีก 2 ปีกเชื่อมกับอาคารกลาง โดยปีกตะวันตกเป็นสำนักงานของประธานาธิบดี (ห้องทำงานรูปไข่ หรือ Oval Office) และทีมงานระดับสูงอีกประมาณ 50 คน รวมถึงห้องประชุมของคณะรัฐมนตรี
ปีกตะวันออก (The East Wing)
ปีกตะวันออกถูกสร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1942 เพื่อใช้ประโยชน์หลายอย่าง ใน ค.ศ. 1977 โรสลิน คาร์เตอร์ สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งได้ใช้ปีกตะวันออกเป็นสำนักงานของเธอ และตั้งชื่อว่า “สำนักงานของสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง” ซึ่งใช้สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
                   ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา (อังกฤษ: President of the United States หรืออาจย่อได้เป็น POTUS) เป็นตำแหน่งประมุขในการปกครองของสหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดีเป็นหัวหน้าของทุกสาขาของรัฐบาลแห่งสหพันธรัฐ โดยมีหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญที่เขียนโดยสภาคองเกรส มาตราที่ 2 ของรัฐธรรมนูญนั้นบัญญัติว่าประธานาธิบดีต้องเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองกำลังทหารและกระจายอำนาจที่เป็นของประธานาธิบดีออกไป รวมไปถึงอำนาจเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างกฎหมายที่ผ่านมาจากสภาคองเกรส นอกจากนั้น ประธานาธิบดียังมีอำนาจในการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีเพื่อเป็นที่ปรึกษาและอำนาจในการลดโทษหรือให้รอลงอาญาได้ ท้ายที่สุดแล้ว หากประธานาธิบดีได้รับคำแนะนำและการยอมรับจากวุฒิสภาแล้วจะมีอำนาจในการทำสนธิสัญญา, แต่งตั้งเอกอัครราชทูตและศาลตัดสินของประเทศ รวมไปถึงศาลสูงสุดด้วย
ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกานั้นมาจากการเลือกตั้งโดยอ้อมผ่านทางคณะผู้เลือกตั้งแห่งสหรัฐ (United States Electoral College) มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 4 ปีและสามารถอยู่ในดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระซึ่งบัญญัติไว้ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 22 ที่ได้รับการอนุมัติในปี ค.ศ. 1951
ภายใต้ระบบนี้ แต่ละรัฐจะได้รับการแบ่งสรรให้มีจำนวนคะแนนเสียงโหวต (Electoral Vote) ที่แตกต่างกัน โดยจะเท่ากับจำนวนที่นั่งในสภาคองเกรสทั้งสอง โดยกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.ก็ต้องลงคะแนนเสียงด้วยตามที่บัญญัติไว้ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 23 ผู้ลงคะแนนเสียงในเกือบทุกรัฐจะต้องเลือกผู้สมัครประธานาธิบดีผ่านระบบเสียงข้างมาก นั่นคือ ผู้สมัครคนใดได้รับการโหวตมากที่สุดก็จะได้เสียงโหวต (Electoral Vote) ของรัฐนั้นไป จำนวนเสียงโหวต (Electoral Vote) ที่มากที่สุดจะเป็นการตัดสินว่าใครจะได้เป็นประธานาธิบดี แต่ถ้าไม่มีผู้สมัครคนใดได้คะแนนเสียงเกินกว่าขีดต่ำสุดที่กำหนดไว้ การเลือกตั้งก็จะไปอยู่ที่การพิจารณาของสภาตัวแทน (House of Representatives) ที่โหวตมาโดยตัวแทนแต่ละรัฐ โดยที่ผ่านมามีประธานาธิบดีเพียง 4 คนที่ดำรงตำแหน่งครบสองสมัยถ้วน คือ ดไวท์ ดี. ไอเซนฮาวร์, โรนัลด์ เรแกน, บิล คลินตัน และจอร์จ ดับเบิลยู. บุช
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ทำเนียบขาว
ภาพทำเนียบขาว ลดธงลงครึ่งเสา เป็นการแสดงความไว้อาลัย
                  สำนักงานของประธานาธิบดีเรียกว่าทำเนียบขาว (White House) ที่เมืองวอชิงตัน ดี.ซี. และยังเป็นที่อยู่อาศัยของประธานาธิบดีได้อีกด้วย นอกจากนั้น ประธานาธิบดียังได้รับสิทธิ์ในการใช้คณะทำงานและสิ่งอำนวยความสะดวกในทำเนียบขาวอย่างเต็มที่ รวมไปถึงการดูแลทางด้านการแพทย์ การพักผ่อน การดูแบบบ้านและระบบรักษาความปลอดภัย มีเครื่องบิน Boeing VC-25 จำนวนหนึ่งลำ(จากสองลำ)ไว้สำหรับการเดินทางระยะไกลของประธานาธิบดี ซึ่งเป็นเครื่องบินเวอร์ชันที่ดัดแปลงอย่างหรูหราของ Boeing 747-200B เรียกว่า แอร์ฟอร์ซวัน ประธานาธิบดียังได้รับค่าตอบแทนทั้งสิ้น 400,000 ดอลลาร์สหรัฐ พร้อมด้วยผลประโยชน์อื่นๆในทุกๆปีของการดำรงตำแหน่งอีกด้วย
เนื่องด้วยความเป็นมหาอำนาจของสหรัฐอเมริกา ตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาจึงเปรียบเสมือนบุคคลที่ทรงอำนาจที่สุดในโลก ประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือ บารัก โอบามา เป็นผู้ได้รับเลือกคนล่าสุดโดยเริ่มดำรงตำแหน่งวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 2009

วีดีโอสารคดีทำเนียบขาว


ประวัติเพลงชาติไทย

ประวัติโดยย่อเพลงชาติไทย


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ธงชาติไทย ย่อ
            ในปีพ.ศ. 2478 รัฐบาลของพระยาพหลพลพยุหเสนาได้ออกระเบียบการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงชาติ ลงวันที่ 4กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 (มีผลบังคับใช้ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน) ระเบียบดังกล่าวนี้ได้มีการกำหนดให้แบ่งการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงชาติออกเป็น แบบ คือ การบรรเลงแบบพิสดาร (บรรเลงตามความยาวปกติเต็มเพลง) และการบรรเลงแบบสังเขป ในกรณีของเพลงชาตินั้น ได้กำหนดให้บรรเลงเพลงชาติฉบับสังเขปในการพิธีที่เกี่ยวข้องกับประชาชน สโมสรสันนิบาต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพิธีปกติ ส่วนการบรรเลงแบบเต็มเพลงนั้นให้ใช้ในงานพิธีใหญ่เท่านั้น
ท่อนของเพลงชาติที่ตัดมาใช้บรรเลงแบบสังเขปนั้น คือท่อนขึ้นต้นของเพลงชาติ (เทียบกับเนื้อร้องเพลงชาติฉบับปัจจุบันก็คือตั้งแต่ท่อน สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี จนจบเพลง) ความยาวประมาณ 10 วินาที ไม่มีการขับร้องใดๆ ประกอบ
เพลงชาติไทย พ.ศ. 2482 - ปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2482 "ประเทศสยาม" ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ประเทศไทย" รัฐบาลจึงได้จัดประกวดเนื้อร้องเพลงชาติไทยใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงชื่อประเทศ โดยกำหนดเงื่อนไขยังคงใช้ทำนองของพระเจนดุริยางค์อยู่เช่นเดิม แต่กำหนดให้มีเนื้อร้องความยาวเพียง วรรคเท่านั้น และปรากฏคำว่า "ไทย" ซึ่งเป็นชื่อประเทศอยู่ในเพลงด้วย ผลการประกวดปรากฏว่าเนื้อร้องของพันเอกหลวงสารานุประพันธ์ ซึ่งส่งประกวดในนามกองทัพบกได้รับรางวัลชนะเลิศ รัฐบาลไทยจึงได้ประกาศรับรองให้ใช้เป็นเนื้อร้องเพลงชาติไทย โดยแก้ไขคำร้องจากต้นฉบับที่ส่งประกวดเล็กน้อย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2482 และใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันเนื้อร้องของหลวงสารานุประพันธ์ ซึ่งส่งประกวดในนามกองทัพบกไทยก่อนแก้ไขเป็นฉบับทางการมีดังนี้

เพลงชาติไทย


เนื้อเพลงชาติไทย

   ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย
 เป็นประชารัฐไผทของไทยทุกส่วน
อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล
ด้วยไทยล้วนหมายรักสามัคคี
ไทยนี้รักสงบแต่ถึงรบไม่ขลาด
เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่
สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี
เถลิงประเทศชาติไทยทวีมีชัย ชโย

การประกวดเพลงชาติครั้งนี้ได้ปรากฏหลักฐานว่ามีกวีและผู้มีชื่อเสียงในทางการประพันธ์เพลงหลายท่าน เช่น เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี แก้ว อัจฉริยะกุล ชิต บุรทัต เป็นต้น ซึ่งรวมถึงผู้ประพันธ์เนื้อเพลงชาติสองฉบับแรก (ขุนวิจิตรมาตรา และฉันท์ ขำวิไล) ได้ส่งเนื้อร้องของตนเองเข้าประกวดด้วย แต่ปรากฏว่าไม่ผ่านการตัดสินครั้งนั้น เฉพาะเนื้อร้องที่ขุนวิจิตรมาตราแต่งใหม่นั้น ปรากฏว่ามีการใช้คำว่า "ไทย" ถึง 12 ครั้ง

ประวัติการปกครองของไทย

ประวัติการปกครองของไทย


การเมืองการปกครองสมัยสุโขทัย
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อาณาจักรสุโขทัย
      ลักษณะการปกครอง แบ่งเป็น แบบ คือ 
           1. แบบพ่อปกครองลูก ช่วงต้นสมัยสุโขทัย เรียกผู้นำว่า "พ่อขุน" ปกครองประชาชนด้วยความห่วงใยและมีเมตตา ต่อประชาชนเปรียบเสมือนพ่อกับลูก ฐานะของกษัตริย์เป็นปิตุราชา 
           2. แบบธรรมราชา ในช่วงสุโขทัยตอนปลายการปกครองใช้ธรรมะเนื่องจากได้รับอิทธิพลทางพุทธศาสนา กษัตริย์ ดำรงไว้ซึ่งทศพิธราชธรรม โดยประชาชนมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน และมีสิทธิเสรีภาพเหมือนกัน เช่น เสรี ภาพในการประกอบอาชีพ

       การจัดระเบียบการปกครองสมัยสุโขทัย 
                        ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อาณาจักรสุโขทัย
            1. เมืองหลวง คือ สุโขทัยเป็นศูนย์กลางการปกครอง 
            2. เมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่าน ตั้งอยู่รอบ ๆ เมืองหลวง มี ทิศ โดยมีเชื้อพระวงศ์เป็นผู้ปกครอง มีหน้าที่ สะสมเสบียงอาหารและป้องกันข้าศึกศัตรู เมืองหน้าด่านทั้ง ได้แก่ 
                      - ทิศเหนือ คือ ศรีสัชนาลัย 
                      - ทิศใต้ คือ สระหลวง (พิจิตร) 
                      - ทิศตะวันออก คือ สองแคว (พิษณุโลก) 
                       - ทิศตะวันตก คือ ชากังราว (กำแพงเพชร) 
            3. เมืองพระยามหานคร หรือเมืองชั้นนอก เป็นหัวเมืองชั้นนอก มีเจ้าเมืองหรือขุนนางชั้นผู้ใหญ่ปกครอง 
            4. เมืองประเทศราช เมืองที่อยู่นอกราชอาณาจักรโดยยอมสวามิภักดิ์ต่อสุโขทัย โดยการส่งเครื่องราชบรรณาการให้ และมีเจ้าเมืองเดิมปกครอง

การเมืองการปกครองสมัยอยุธยา 
       ลักษณะการปกครอง แบ่งออกเป็น แบบ คือ 
            1. แบบธรรมราชา กษัตริย์ปฏิบัติตามหลักธรรมทางพุทธศาสนา 
            2. แบบเทวราชา กษัตริย์เป็นสมมติเทพ รับอิทธิพลมาจากขอม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อาณาจักรอยุธยา
การจัดระเบียบการปกครองสมัยอยุธยา 
          **สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ได้นำรูปแบบการปกครองของสุโขทัยและเขมรมาปรับใช้ โดยแบ่งเป็น 
                     - ราชธานี 
                     - หัวเมืองชั้นใน 
                     - เมืองลูกหลวง 
                     - หัวเมืองชั้นนอก 
                     - เมืองประเทศราช
                 ต่อมาในสมัยพระบรมไตรโลกนาถทรงปรับปรุงการปกครองเพื่อเพิ่มอำนาจให้กับราชธานี จึงจัดระเบียบการปกครองใหม่เพื่อรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง โดยแบ่งเป็น
                     - ราชธานี 
                     - หัวเมืองชั้นใน ผู้ปกครองเรียกว่า "ผู้รั้ง" 
                     - หัวเมืองชั้นนอก แบ่งเป็นเอก โท ตรี โดยแบ่งภายในเมืองเป็นการปกครองท้องถิ่น ได้แก่ เมือง(จังหวัด) แขวง(อำเภอ) ตำบล บ้าน 
การปกครองบ้านเมือง
            **การปกครองสมัยพระรามาธิบดีที่ ทรงแบ่งการปกครองเป็น ส่วน เรียกว่า จตุสดมภ์ ได้แก่ 
กรมเมือง ดูแลความสงบเรียบร้อยภายในราชธานี 
กรมวัง ดูแลเกี่ยวกับกิจการต่าง ๆ ในราชสำนัก และพระราชพิธีต่าง ๆ 
กรมคลัง ดูแลเกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้รายจ่ายของพระคลัง 
กรมนา ดูแลเกี่ยวกับนาหลวง การเก็บภาษี และการจัดเก็บข้าวเข้าท้องพระคลัง 
             การปกครองประเทศจะรวมทหารและพลเรือนเข้าด้วยกันโดยแบ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายเหนือ และฝ่ายใต้ 
            **การปกครองสมัยพระบรมไตรโลกนาถทรงปฏิรูปใหม่เป็น 
กรมเมือง เปลี่ยนเป็น นครบาล 
กรมวัง เปลี่ยนเป็น ธรรมาธิกรณ์ 
กรมคลัง เปลี่ยนเป็น โกษาธิบดี 
กรมนา เปลี่ยนเป็น เกษตราธิบดี 
                  สมัยพระบรมไตรโลกนาถทรงแยกฝ่ายทหารและพลเรือนออกจากกัน โดยตั้งตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี ตำแหน่ง คือ 
                     - สมุหกลาโหม ดูแลเกี่ยวกับการทหาร 
                     - สมุหนายก ดูแลเกี่ยวกับข้าราชการพลเรือน และยังได้กำหนดกฎหมายขึ้น คือ 1.กฎหมายศักดินาทหารและพลเรือน  2. กฎมนเทียรบาล เป็นกฎหมายเกี่ยวกับประเพณีใน ราชสำนัก


การปกครองสมัยกรุงธนบุรี และรัตนโกสินทร์ 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อาณาจักยทร์รัตนโกสิท
        ลักษณะการปกครองคล้ายกับสมัยอยุธยา มีการควบคุมไพร่เข้มงวดขึ้น โดยมีการสักข้อมือไพร่ จนถึงสมัยรัชกาลที่ เมื่อได้รับอิทธิพลของชาวตะวันตกเริ่มเปลี่ยนแปลง โดยศึกษาความรู้ต่าง ๆ จากชาติตะวันตกจนกระทั่ง ถึงรัชสมัยรัชกาลที่ ได้เปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ ๆ ดังนี้ 
              1. ให้สิทธิและเสรีภาพในการนับถือศาสนา
              2. อนุญาตให้เข้าเฝ้าในเวลาเสด็จพระราชดำเนิน 
              3. ออกกฎหมายประกาศรับฎีกาของประชาชนในทุกวันโกน 
              4. ให้สิทธิสตรีมีโอกาสทางด้านการศึกษา และการสมรส 
              5. ให้เสรีภาพในการประกอบอาชีพของประชาชน
        

การพัฒนาประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5 
              1. การเลิกทาสและไพร่ 
              2. การปฏิรูปทางการศึกษา 
              3. มีการจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ เพื่อจัดเก็บภาษีอากร 
              4. จัดทำงบประมาณรายได้และรายจ่ายของแผ่นดิน 
              5. การสร้างทางรถไฟเพื่อการขนส่ง 
              6. ปฏิรูปการปกครองแบ่งออกเป็น ฝ่าย คือ 

                   นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ 
              7. จัดตั้งกระทรวงยุติธรรม 
              8. ออกพระราชบัญญัติการเลือกตั้งกำนันและผู้ใหญ่บ้าน 
              9. ตั้งสุขาภิบาลตามหัวเมืองต่าง ๆ 
        

การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 
              1. ทรงจัดตั้งสภาที่ปรึกษากษัตริย์ สภา คือ รัฐมนตรีสภา และองคมนตรีสภา 
              2. ทรงจัดระเบียบการบริหารราชการในราชธานีใหม่โดยยกเลิกจตุสดมถ์ สมุหนายก และสมุหกลาโหม 
                 และจัดตั้งหน่วยงานเป็นกระทรวง 12 กระทรวง แต่ละกระทรวงมีเสนาบดีเป็นผู้รับผิดชอบ ได้แก่ 
                       1. กระทรวงมหาดไทย ดูแลเกี่ยวกับการปกครองหัวเมือง 
                       2. กระทรวงกลาโหม ดูแลเกี่ยวกิจการทหารและหัวเมืองฝ่ายใต้ 
                       3. กระทรวงยุทธนาธิการ ดูแลเกี่ยวกับเรื่องการต่างประเทศ 
                      4. กระทรวงวัง ดูแลเกี่ยวกับพระราชวัง 
                       5. กระทรวงนครบาล ดูแลเกี่ยวกับกิจการตำรวจและราชทัณฑ์ 
                       6. กระทรวงเกษตราธิราช ดูแลเกี่ยวกับการเพาะปลูก ค้าขาย 

                           ป่าไม้ เหมืองแร่ 
                       7. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ดูแลเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี
อากร                            งบประมาณแผ่นดิน การคลัง 
                       8. กระทรวงยุติธรรม ดูแลเกี่ยวกับการศาล ชำระความทั้งแพ่ง
                           และอาญา 
                       9. กระทรวงยุทธนาธิการ ดูแลจัดการเกี่ยวกับการทหาร 
                      10. กระทรวงโยธาธิการ ดูแลเกี่ยวกับการก่อสร้าง ขุดคลอง                                      ไปรษณีย์ โทรเลข รถไฟ 
                      11. กระทรวงธรรมการ ดูแลเกี่ยวการศึกษาและศาสนา 
                      12. กระทรวงมุรธาธิการ ดูแลเกี่ยวกับพระราชสัญจกร พระราช                                   กำหนดกฎหมาย หนังสือราชการ
         

การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาค 
                - มณฑลเทศาภิบาล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผผู้ปกครอง 
                - ในแต่ละมณฑลประกอบด้วย เมือง อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ตามลำดับ โดยประชาชนเลือกตั้งกำนัน และผู้ใหญ่ บ้านเอง 
         

การปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่นตนเอง 
                - ตั้งสุขาภิบาลแห่งแรก คือ สุขาภิบาลกรุงเทพฯ 
                - ตั้งสุขาภิบาลหัวเมืองแห่งแรก คือ ตำบลท่าฉลอม 

                  จังหวัดสมุทรปรากา


การปรับปรุงระเบียบบริหารในสมัยรัชกาลที่ 6 
               1. ทรงยกโรงเรียนราชการพลเรือนเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
               2. ประกาศพระราชบัญญัติประถมศึกษา 
               3. ตั้งดุสิตธานี นครจำลองเพื่อการปกครองแบบประชาธิปไตย 
               4. ให้เสรีภาพหนังสือพิมพ์วิจารณ์รัฐบาล 
               5. เปลี่ยนการเรียกชื่อเมืองเป็นจังหวัด 

         

การเปลี่ยนแปลงการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 7 
               การปกครองของไทยสมัยรัชกาลที่ ถึง รัชกาลที่ เป็นการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และภายหลังจาก เกิดสงครามโลกครั้งที่ ในสมัยรัชกาลที่ เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เป็นสาเหตุให้ เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย โดย คณะราษฎร์ นำโดยพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้าฝ่ายทหาร และหลวงประดิษฐ์มนูธรรม(นาย ปรีดี พนมยงค์) เป็นหัวหน้าฝ่ายพลเรือน 


หลักการสำคัญของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 
1. อำนาจอธิปไตย เป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ
2. รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ 
3. พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ ทรงใช้อำนาจอธิปไตยตาม

    ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ 
ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติผ่านทางรัฐสภา หรือสภาผู้แทนราษฎร 
ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี 
ทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล 
หลักการปกครองของคณะราษฎร 
1. รักษาความเป็นเอกราช 
2. รักษาความปลอดภัยของประเทศ 
3. พัฒนาเศรษฐกิจให้ราษฎรกินดีอยู่ดี 
4. ให้ประชาชนมีความเสมอภาค เท่าเทียมกัน 
5. ให้ประชาชนมีเสรีภาพ 
6. ให้ประชาชนมีการศึกษา 
การเมืองการปกครองของไทยยังขาดเสถียรภาพ มีสาเหตุเนื่องมาจาก 
1. มีการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญบ่อย ทำให้การพัฒนาไม่ต่อเนื่อง 
2. มีการเปลี่ยนโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาบ่อยครั้ง 
3. มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล และคณะรัฐมนตรีบ่อยครั้ง 
4. เกิดปัญหาพรรคการเมืองไทย เช่น พรรคการเมืองมากเกินไป ขาดอุดมการณ์          ขาดระเบียบวินัย เป็นต้น